ต้าวยูกหมามาแล้วจ้า! ทำยังไงดีเมื่อน้องหมาที่บ้านมีลูก!
-
MyFriend Team
- - กุมภาพันธ์ 27, 2023
การรอคอยสมาชิกลูกหมาที่กำลังจะคลอดนั้นเป็นอะไรที่ทั้งน่าตื่นเต้นและน่ากลัวสำหรับคุณพ่อคุณแม่สุนัข ความรู้สึกของการเฝ้ารอคอยนั้นอาจจะมากล้นไปด้วยความลุ้นระทึก ตื่นเต้น และน่ากลัวในเวลาเดียวกัน! เพราะแบบนั้นเหล่ามนุษย์อย่างเราจึงควรรู้เรื่องราวของการเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อต้อนรับสมาชิกหมาใหม่นั่นเอง
ตั้งแต่สัญญาณเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ในสุนัขไปจนถึงการเตรียมคลอด หลาย ๆ อย่างอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกหวาดกลัวและเคร่งเครียดไปในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะกับคนที่ไม่เคยอยู่ในเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน ในบทความนี้ เราจะให้ข้อมูลที่จะทำให้ทุกคนสบายใจได้มากยิ่งขึ้น รู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น และจะเตรียมพร้อมรับมือกับเหล่าหมาเด็กที่กำลังจะลืมตาดูโลกได้ยังไง! เมื่อรู้แล้วว่าจะเจอกับอะไรบ้าง เราก็หวังว่าคุณพ่อคุณแม่… หรือคุณปู่ย่าตายายจะรู้สึกวิตกกังวลน้อยลงนะ!
สุนัขเพศเมียนั้นสามารถตั้งท้องแรกได้ตั้งแต่อายุ 8 – 18 เดือน โดยจะมีหลายปัจจัยที่ส่งผล แตกต่างกันไปในสุนัขแต่ละตัว คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษากับสัตวแพทย์ก่อนว่าเมื่อไหร่ที่จะสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย โดยสุนัขนั้นจะเริ่มมีลูกได้ในวัยเจริญพันธุ์เช่นเดียวกันกับมนุษย์ แต่จะอยู่ในช่วงติดสัดเพียงหนึ่งครั้งในรอบ 8 เดือน ครั้งหนึ่งอาจติดสัดได้นานถึง 3 สัปดาห์
โดยปกติแล้วสุนัขจะตั้งครรภ์เป็นเวลา 63 วันก่อนที่จะคลอด เทียบกับเวลาตั้งครรภ์ 9 เดือนของมนุษย์ โดยอีกหนึ่งความแตกต่างก็คือจำนวนวันนั้นจะนับตั้งแต่วันตกไข่ของสุนัข ทำให้การรับวันอาจจะแตกต่างกันไปในสุนัขแต่ละตัว
ตามธรรมชาติแล้ว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีลูกเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของหัวนมของแม่ แต่ในสัตว์เลี้ยงนั้นอาจมีจำนวนที่แตกต่างกันออกไป โดยคุณพ่อคุณแม่จะสามารถรู้จำนวนลูกสุนัขที่อยู่ในครรภ์ได้จากการพาไปฝากครรภ์ เอกซเรย์และอัลตราซาวนด์นั่นเอง
มีสัญญาณหลายอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ควรมองหาเมื่อสงสัยว่าเพื่อนรักขนฟูที่บ้านอาจจะกำลังตั้งครรภ์!
นอกเหนือจากลักษณะทางด้านร่างกายที่เปลี่ยนไประหว่างการตั้งครรภ์แล้ว สุนัขของเรายังอาจจะแสดงออกแตกต่างไปจากเดิมเล็กน้อย และนี่คือพฤติกรรมที่อาจจะเกิดขึ้น
โภชนาการและการออกกำลังกาย
เพราะน้องหมาของเรากำลังสร้างชีวิตเล็ก ๆ อยู่ข้างในตัว อาหารที่มีคุณภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ! โดยในขณะที่น้ำหนักตัวของน้องหมากำลังเพิ่มขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็ควรให้อาหารปริมาณมากขึ้นตามไปด้วย จนปริมาณที่กินนั้นมากกว่าปกติประมาณ 35 – 50% โดยคุณพ่อคุณแม่ควรเพิ่มอาหารให้อย่างค่อยเป็นค่อยไป และเพิ่มหลาย ๆ ครั้งมากกว่าจะที่จะให้ทีละมาก ๆ เพราะอาจจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวได้
การพาสุนัขที่ตั้งครรภ์ไปเดินระยะทางสั้น ๆ และเดินบ่อย ๆ นั้นจะดีกว่า เพราะแม่สุนัขจะต้องเก็บพลังงานไว้อุ้มท้องและให้สารอาหารกับลูก ๆ แต่จะไม่แนะนำให้ออกกำลังกายหนักหรือไม่ออกกำลังกายเลยในช่วงนี้ ถึงอย่างไรเจ้าน้องก็ต้องขยับตัวบริหารร่างกายบ้างนะ!
การเตรียมคลอดลูก
ในขณะที่มนุษย์อย่างเรากำลังรอน้องหมาคลอดลูกก็อาจจะพบว่าหัวนมน้องใหญ่ขึ้นมากเลย! อาจจะเห็นว่ามีน้ำนมไหลออกมาด้วยในบางครั้ง และหน้าท้องก็จะใหญ่ขึ้น ทำให้เดินได้ยากกว่าปกติและเดินแกว่งไปมา
คุณพ่อคุณแม่สัตว์เลี้ยงที่กำลังดูแลและให้กำลังใจว่าที่แม่สุนัขจะต้องเตรียม “รังคลอดลูก” (Whelping Box) เอาไว้ โดยรังนี้จะช่วยในเกิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย อบอุ่น และสบายสำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะลืมตาดูโลก! คุณพ่อคุณแม่สามารถหาซื้อรังคลอดลูกหรือจะทำขึ้นมาเองจากสระน้ำเป่าลมก็ได้ เพื่อจะได้ง่ายสำหรับแม่สุนัขในการเข้าออกนั่นเอง วางรังคลอดลูกนี้ไว้ในพื้นที่ที่เงียบสงบ เพื่อที่เพื่อนรักของเราจะได้ไม่ต้องระแวงในช่วงเวลาของการเกิดปาฎิหาริย์!
อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
มีหลายอย่างที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อสัตว์เลี้ยงของเรากำลังท้อง ภาวะผิดปกติที่พบบ่อยในระหว่างการคลอดอาจเกิดขึ้นเมื่อ
หลังจากการคลอดลูก เป็นเรื่องปกติที่แม่สุนัขจะมีไข้ขึ้นเป็นเวลาประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง ในช่วง 8 สัปดาห์แรกอาจจะมีสารคัดหลั่งออกมาจากอวัยเพศด้วยเช่นกัน แต่หากมีไข้นานกว่า 48 ชั่วโมง หรือมีสารคัดหลั่งที่ส่งกลิ่นเหม็นออกมา นั่นหมายความแม่สุนัขอาจจะกำลังมีอาการมดลูกอักเสบ ซึ่งเป็นอาการอักเสบที่มดลูกหลังคลอด มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
หากแม่สุนัขที่บ้านของทุกคนกำลังมีอาการดังกล่าวหลังคลอด ให้รีบติดต่อสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะหมายความว่าแม่หมาของเราอาจจะต้องการการผ่าคลอด การตรวจเลือดและเอกซเรย์เองก็อาจจะเป็นการตรวจเพิ่มเติมที่จำเป็นเช่นกัน เพื่อให้แน่ใจว่าแม่หมาของเราจะยังคงสุขภาพแข็งแรง ลูก ๆ ที่จะคลอดออกมาเองก็เช่นกัน
คุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ตลอดระยะเวลาที่สุนัขกำลังตั้งครรภ์ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ การดูแลอย่างเหมาะสมจะช่วยลดความเสี่ยงของอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นนั่นเอง
การที่สิ่งมีชีวิตหนึ่งจะนำมาซึ่งชีวิตน้อย ๆ อีกมากมายนั้นเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นทั้งสำหรับแม่หมาและคุณพ่อคุณแม่เอง แม้จะเป็นเรื่องที่ดูน่าวิตกกังวลไปบ้าง แต่ก็ทำให้รู้สึกราวกับได้รางวัลที่ยิ่งใหญ่ในที่สุด การดูแลว่าที่แม่หมาเป็นอย่างดี พร้อมทั้งโภชนาการที่ครบถ้วนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพของสุนัขทั้งแม่หมาและบรรดาลูก ๆ ในท้องนั่นเอง การเตรียมตัวที่ดีและมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคลอดลูกของน้องหมาจะทำให้ประสบการณ์ในครั้งนี้นำพามาซึ่งความสุข และไม่ใช่เรื่องที่น่าหวาดกลัวอย่างที่คิดอีกต่อไป
บทความนี้ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาโดยสัตวแพทย์จากโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUVET)
👩⚕️👨⚕️ MyFriend’s Healthcare บทความสุขภาพสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องสุขภาพกายและใจของน้อง ๆ สัตว์เลี้ยงที่สมบูรณ์แข็งแรง!
🐶🐱 MyFriend แอปของเหล่าสัตว์เลี้ยง ให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลเจ้าน้องเพื่อนซี้ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยบริการและคอนเทนต์สนุก ๆ มากมาย!
SUBSCRIBE &
STAY UPDATED
© 2023 MyFriend by Thai Innovative Technologies
© 2023 MyFriend by Thai Innovative Technologies